วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การแสดงภาคเหนือ

การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น ที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า ฟ้อนมีลักษณะการแสดงลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อย นุ่มนวล และสวยงาม แต่การแสดงบางชุดได้รับอิทธิพลจากศิลปะของพม่า เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนมาลัย ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนไต ฟ้อนกิงกะหร่า ฟ้อนโต ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง ฟ้อนบายศรี ตีกลองสะบัดชัย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนโยคีถวายไฟ การแต่งกายแบบพื้นบ้านภาคเหนือ ดนตรีที่ใช้คือ วงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว
การละเล่นพื้นเมืองภาคเหนือ
   ในภาคเหนือ ภูมิประเทศเป็นป่าเขา ต้นน้ำลำธาร อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ การทำมาหากินสะดวกสบาย ชาวเหนือจึงมีนิสัยอ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส มีน้ำใจไมตรี การแสดงพื้นเมืองจึงมีลีลาอ่อนช้อย งดงามและอ่อนหวาน การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เรียกกันว่า ฟ้อน มีผู้แสดงเป็นชุดเป็นหมู่ ร่ายรำท่าเหมือนกัน แต่งกายเหมือนกัน มีการแปรแถวแปรขบวนต่าง ๆ
ลักษณะของการแสดงพื้นเมือง ได้แก่
        ลีลาการเคลื่อนไหว เป็นไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละภาค
        เครื่องแต่งกาย เป็นลักษณะพื้นเมืองของภาคนั้น ๆ
        เครื่องดนตรี เป็นของท้องถิ่น ได้แก่ ปี่แน กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบใหญ่ ฆ้องโหม่ง ฆ้องหุ่ย
        เพลงบรรเลงและเพลงร้อง เป็นทำนองและสำเนียงท้อง



ฟ้อนเล็บ(การแสดงพื้นเมือง ภาคเหนือ)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น