ภาคใต้ เป็นดินแดนที่ติดทะเลทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง และมีขนบประเพณีวัฒนธรรมและบุคคลิกบางอย่างคล้ายคลีงกัน คือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจรวดเร็วเด็ดขาด การแต่งกาย เพลง และดนตรีคล้ายคลึงกันมาก
การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. มหรสพ คือ การแสดงเป็นเรื่อง เช่น หนังตะลุง มีตัวหนัง มีคนเชิด มีการร้องและเจรจา นอกจากนั้นมี ลิเกป่า หรือลิเกรำมะนา หรือลิเกแขกแดง หรือลิเกแขกเทศ หรือลิเกบก ซึ่งผู้แสดงโต้ตอบกันเป็นเรื่องราว อีกการแสดงคือ โนรา ถ้าเล่นเป็นเรื่องก็ถือเป็นมหรสพ แต่ถ้าร่ายรำเป็นชุด ก็ถือเป็นการแสดงเบ็ดเตล็ด
๒. การแสดงเบ็ดเตล็ด คือ ร่ายรำเป็นชุด เช่น โนรา ร็องเง็ง ซัมเปง ตารีกีปัส ระบำร่อนแร่ กรีดยาง ปาเต๊ะ รำซัดชาตรี
ดนตรีของภาคใต้ ได้แก่ กลองแขก รำมะนา ปี่ ทับ โหม่ง ฉิ่ง
การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. มหรสพ คือ การแสดงเป็นเรื่อง เช่น หนังตะลุง มีตัวหนัง มีคนเชิด มีการร้องและเจรจา นอกจากนั้นมี ลิเกป่า หรือลิเกรำมะนา หรือลิเกแขกแดง หรือลิเกแขกเทศ หรือลิเกบก ซึ่งผู้แสดงโต้ตอบกันเป็นเรื่องราว อีกการแสดงคือ โนรา ถ้าเล่นเป็นเรื่องก็ถือเป็นมหรสพ แต่ถ้าร่ายรำเป็นชุด ก็ถือเป็นการแสดงเบ็ดเตล็ด
๒. การแสดงเบ็ดเตล็ด คือ ร่ายรำเป็นชุด เช่น โนรา ร็องเง็ง ซัมเปง ตารีกีปัส ระบำร่อนแร่ กรีดยาง ปาเต๊ะ รำซัดชาตรี
ดนตรีของภาคใต้ ได้แก่ กลองแขก รำมะนา ปี่ ทับ โหม่ง ฉิ่ง
ตัวอย่าง
การแสดงมโนราห์
เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ โดยเฉพาะมีท่ารำที่อ่อนช้อย สวยงาม บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่ชวา และกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย
การแสดงมโนราห์ นิยมจัดแสดง ตามงานเทศกาลต่างๆ ในท้องถิ่น ภาคใต้ ปัจจุบัน มีการแสดง ประเภทอื่นให้ดูมากขึ้น เช่น วงดนตรี คอนเสิร์ต ภาพยนตร์ โดยเฉพาะ โทรทัศน์ วีดีโอ และซีดี ที่มีหนัง มีละคร ให้ดูกันถึงบ้าน ทำให้ศิลปะ การแสดงประเภทนี้ ลดความนิยมลงไป จะหาชมได้ในโอกาส สำคัญๆ เช่น งานอนุรักษ์วัฒนธรรม ในพิธีไหว้ครูของมโนราห์ (โนราโรงครู) หรือในงานต่างๆ ที่เจ้าภาพผู้จัดยังมี ความรัก และชื่นชอบในศิลปะการแสดง ประเภทนี้
การแสดงมโนราห์ นิยมจัดแสดง ตามงานเทศกาลต่างๆ ในท้องถิ่น ภาคใต้ ปัจจุบัน มีการแสดง ประเภทอื่นให้ดูมากขึ้น เช่น วงดนตรี คอนเสิร์ต ภาพยนตร์ โดยเฉพาะ โทรทัศน์ วีดีโอ และซีดี ที่มีหนัง มีละคร ให้ดูกันถึงบ้าน ทำให้ศิลปะ การแสดงประเภทนี้ ลดความนิยมลงไป จะหาชมได้ในโอกาส สำคัญๆ เช่น งานอนุรักษ์วัฒนธรรม ในพิธีไหว้ครูของมโนราห์ (โนราโรงครู) หรือในงานต่างๆ ที่เจ้าภาพผู้จัดยังมี ความรัก และชื่นชอบในศิลปะการแสดง ประเภทนี้
เป็นการแสดงที่นำมาจากการแสดงละครเรื่อง "พระสุธน - มโนราห์" ตอน มโนราห์บูชายัญ ซึ่งกรมศิลปากรได้จัดแสดงขึ้น และแสดงให้ประชาชนชาวไทยดูเป็นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๙๘ กล่าวถึง เมื่อนางมโนราห์ขอปีก หางได้แล้ว ก็แสร้งกล่าวทูลลา และขอพระราชทานอภัยต่อท้าวอาทิตยวงศ์ แล้วร่ายรำทำท่าคล้ายกับจะกระโดดเข้ากองไฟ ระบำชุดนี้ใช้เพลงแขกบูชายัญ โดยอาจารย์มนตรี ตราโมท ได้นำเพลงเร็วของคุณครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ มาบรรเลงร่วมกับโทนและกลองชาตรี ไม่มีเนื้อร้อง ผู้แสดงจะร่ายรำตามจังหวะเครื่องดนตรี
หนังตะลุง
หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ 25นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด
ปัจจุบัน โครงการศิลปินแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะการแสดงหนังตะลุงให้แก่อนุชนรุ่นหลัง เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ให้คงอยู่สืบไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น